Week 6

Week 6
เป้าหมายรายสัปดาห์ นักเรียนบอกความสำคัญและประโยชน์ของป่าชายเลนและเชื่อมโยงมาสู่ตัวเองได้จากส่วนประกอบต่างๆของพืช
นักเรียนสามารถเชื่อมโยงมาสู่ส่วนประกอบของอวัยวะต่างๆในร่างกายพร้อมทั้งบอกวิธีดูแลที่ถูกต้องได้
Week
input
Process
Out put
Outcome




6
1 ...
-
5 ..
2557













คำถาม 
-นักเรียนคิดว่าป่าชายเลนมีประโยชน์อย่างไรบ้าง
-ป่าชายเลนเกี่ยวข้องกับนักเรียนอย่างไรบ้าง
-ต้นโกงกางในป่าชายเลนมีส่วนประกอบเหมือนหรือต่างกันอย่างไรกับอวัยวะของนักเรียน
- เครื่องมือคิด 
- Key Question นักเรียนและครูต่างตั้งคำถามแลกเปลี่ยนกัน
-Blackboard Share ครูเขียนสิ่งที่นักเรียนบอกเล่าให้ดู
- Think Pair Share นักเรียนต่างช่วยกันคิดและแลกเปลี่ยนกับเพื่อน
-Walk & Talk / Brainstromming.
เด็กในห้องเรียน (ความแตกต่างของเด็ก
แต่ละบุคคล)
ครู (กระตุ้นการเรียนรู้และอำนวยความสะดวก/ประเมิน/สังเกตการณ์)
ผู้ปกครอง 
ส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน
บรรยากาศ/สื่อ
- เรื่องเล่า/ - คลิปวีดีโอ/อินเตอร์เน็ตรูปภาพ/บรรยากาศในห้อง/ต้นไม้บริเวณโรงเรียน/แว่นขยาย
-ครูตั้งคำถาม นักเรียนคิดว่าพันธุ์ไม้ที่ขึ้นในป่าชายเลนสามารถนำมาปลูกที่โรงเรียนได้หรือไม่จากนั้นครูพานักเรียนเดินดูต้นไม้บริเวณโรงเรียนและเก็บตัวอย่างต้นไม้มาสังเกตส่วนประกอบ โครงสร้างและหน้าที่ และให้นักเรียนเชื่อมโยงมาสู่ส่วนประกอบในร่างในร่างกายของตนเอง
-จากนั้นครูแจกกระดาษร้อยปอนด์ให้นักเรียนวาดรูปต้นไม้พร้อมส่วนประกอบต่างๆ และวาดรูปร่างกายของคนเราเปรียบเทียบกับส่วนประกอบอวัยวะในร่างกายรวมถึงวิธีการดูแลรักษาอวัยวะและจากนั้นครูให้นักเรียนออกมานำเสนอชิ้นงานทีละคนโดยให้เพื่อนๆช่วยกันแสดงความคิดเห็นสิ่งที่ทำได้ดีแล้วและสิ่งที่ควรปรับปรุง
-จากนั้นครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มแสดงละครบทบาทสมมติเกี่ยวกับป่าชายเลน นักเรียนทำ Mind Mapping สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน/ชิ้นงาน
-แผ่นภาพต้นไม้และส่วนประกอบ
-แผ่นภาพอวัยวะและการดูแลอวัยวะ
-การนำเสนอการบ้านประโยชน์ของป่าชายเลน
-การนำเสนอชิ้นงานส่วนประกอบของพืชและอวัยวะ
-การแสดงละครบทบาทสมมติเกี่ยวกับป่าชายเลน
-Mind Mapping สรุปการเรียนรู้
สาระ
-บอกวิธีการทำงานเพื่อช่วยเหลือตนเอง(ง1.1.1/1)
-ใช้วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือง่ายๆในการทำงานอย่างปลอดภัย(ง1.1.1/2)
-ทำงานเพื่อช่วยเหลือตนเองอย่างกระตือรือร้นและตรงต่อเวลา(ง1.1.1/3)
-ใช้วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการทำงานอย่างเหมาะสมกับงานและประหยัด(ง1.1.2/2)

ทักษะ
การเรียนรู้ 
-การดู/สังเกต/เปรียบเทียบ/การจดบันทึก วาดรูป
-การค้นหาคำตอบ/สรุปความเข้าใจ
สังคม
-การพูด/การฟัง/การเขียน/การสื่อสารอธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจ
-การทำงานกลุ่มร่วมกับเพื่อน
ชีวิต
-การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
-การกล้าแสดงออก แสดงบทบาทที่ได้รับมอบหมาย








1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน
    นักเรียนสามารถเชื่อมโยงส่วนประกอบต่างๆของพืชมาสู่ร่างกายของตนเองได้อย่างเข้าใจ เช่น เปรียบเทียบรากของต้นไม้ มีหน้าที่คล้ายปากเอาไว้ดูดซึมอาหารและคล้ายเท้าเอาไว้ยืนต้น นักเรียนอธิบายได้ว่าเราไม่สามารถนำพืชที่ขึ้นอยู่ในป่าชายเลนมาปลูกที่โรงเรียนได้เพราะ โรงเรียนเราไม่มีน้ำเค็ม ไม่มีดินเลน และรากของมันก็ไม่เหมาะกับดินแข็งๆ จากที่ครูให้แบ่งกลุ่มแสดงบทบาทสมมติ เกิดปัญหากับบางกลุ่มที่เพื่อนๆเล่นไม่ให้ความร่วมมือในการซ้อมครูจึงนำปัญหาที่เกิดขึ้นมาเล่าและถามเพื่อนๆคนอื่นๆว่าถ้าเกิดปัญหาแบบนี้กับกลุ่มตนเองจะมีวิธีแก้ปัญหาอย่างไร และให้คนที่เล่นเล่าความรู้สึกแสดงความคิดเห็นว่าทำไมถึงเล่นเมื่อเขาคุยตกลงกันเข้าใจแล้วครูก็ให้เวลาซ้อมแสดงอีกครั้ง



    ตอบลบ